nongfag@hotmail.com 053-968033 ต่อ 13 , 081-960-7098

President

นายอนุชา  แสงสว่าง

นายกเทศมนตรีตำบลหนองแฝก

สายด่วนนายก 061-2675999

หน้าแรก » อำนาจหน้าที่เทศบาล

โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาลตำบล

                เทศบาลตำบลหนองแฝกเดิมเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแฝกและได้รับการยกฐานะ จากองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแฝก ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการจัดตั้งองค์การบริหารส่วน ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลตำบล ตั้งแต่วันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒
                โครงสร้างและอำนาจหน้าที่ในการบริหารงานของเทศบาลตำบลเป็นไปตามกฎหมายซึ่ง กำหนดให้เทศบาลตำบลประกอบด้วย ฝ่ายนิติบัญญัติหรือสภาเทศบาลตำบลและฝ่ายบริหาร
                ๑) สภาเทศบาลตำบล มีสมาชิกสภาเทศบาลตำบลซึ่งเป็นผู้ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน ๒ เขตๆ ละ ๖ คนและอยู่ในตำแหน่งคราวละ ๔ ปี โดยสภาเทศบาลตำบลจะมีหน้าที่และบทบาทเช่นเดียวกับ ฝ่ายนิติบัญญัติทั่วไป กล่าวคือ หน้าที่ในทางนิติบัญญัติได้แก่ ให้ความเห็นชอบแผนพัฒนา พิจารณาเทศ บัญญัติของเทศบาลต าบล และหน้าที่ในการตรวจสอบการดำเนินงานของฝ่ายบริหาร เช่น การตั้งกระทู้ถาม การเปิดอภิปราย สภาเทศบาลตำบลจะมีประธานสภา ๑ คน รองประธานสภา ๑ คนและเลขานุการสภา ๑ คน
                ๒) ฝ่ายบริหาร ได้แก่ นายกเทศมนตรีตำบลหนองแฝก ทั้งนี้ยังมีผู้ช่วยผู้บริหาร คือรอง นายกเทศมนตรี ๒ คน ,เลขานุการนายกเทศมนตรี ๑ คน และที่ปรึกษานายกเทศมนตรี ๑ คน โดยมีวาระใน การดำรงตำแหน่ง ๔ ปีเช่นเดียวกับสมาชิกสภา


ผัง1.jpg (42 KB)

                  สำหรับฝ่ายพนักงานเทศบาลสามัญและพนักงานจ้างของเทศบาลตำบลหนองแฝก ซึ่งเป็น ฝ่ายข้าราชการประจำ เนื่องจากเทศบาลตำบลหนองแฝกเป็นเทศบาลตำบลขนาดเล็ก จึงได้แบ่งส่วนราชการ เป็น ๔ ส่วนราชการ คือ สำนักปลัดเทศบาล กองช่าง กองคลังและกองการศึกษา โดยมีพนักงานเทศบาล พนักงานจ้างดังนี้

                             (๑) พนักงานเทศบาลสามัญ   จำนวน ๑๙ คน

                             (๒) พนักงานจ้าง                จำนวน ๑๘ คน

                                   - พนักงานจ้างทั่วไป      จำนวน ๑๗ คน

                                   - พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน  ๑ คน

ผัง2.jpg (54 KB)

 

อำนาจหน้าที่ของเทศบาลตำบล (ตามมาตรา ๕๐ พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.๒๔๙๖)

                      ๑. รักษาความสงบเรียบร้อยของประชาชน
                      ๒.ให้มีและบำรุงทางบกและทางน้ำ
                      ๓. รักษาความสะอาดของถนน หรือทางเดินและที่สาธารณะ รวมทั้งการกำจัด
                          มูลฝอยและสิ่งปฏิกูล
                      ๔. ป้องกันโรคและระงับโรคติดต่อ
                      ๕. ให้มีเครื่องใช้ในการดับเพลิง
                      ๖. ให้ราษฎรได้รับการศึกษาอบรม
                      ๗. ส่งเสริมการพัฒนาสตรี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ และผู้พิการ
                      ๘. บำรุงศิลปะ จารีตประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น และวัฒนธรรมอันดีของท้องถิ่น
                      ๙. หน้าที่อื่นตามที่กฎหมายบัญญัติให้เป็นหน้าที่ของเทศบาล

             ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลอาจจัดทำกิจการใดๆในเขตเทศบาล ดังนี้ (มาตรา ๕๑)

                      ๑. ให้มีน้ำสะอาดหรือน้ำประปา
                      ๒. ให้มีโรงฆ่าสัตว์
                      ๓. ให้มีตลาด ท่าเทียบเรือและท่าข้าม
                      ๔. ให้มีสุสานและฌาปนสถาน
                      ๕. บำรุงและส่งเสริมการทำมาหากินของราษฎร์
                      ๖. ให้มีและบำรุงสถานที่ทำการพิทักษ์รักษาคนเจ็บไข้
                      ๗. ให้มีและบำรุงการไฟฟ้าหรือหรือแสงสว่างโดยวิธีอื่น
                      ๘. ให้มีและบำรุงทางระบายน้ำ
                      ๙. เทศพาณิชย์

            อำนาจหน้าที่ ตาม พ.ร.บ. กำหนดแผนและขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น พ.ศ. ๒๕๔๒ หมวด ๒ มาตรา ๑๖

                      ๑. การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นของตนเอง
                      ๒. การจัดให้มีและบำรุงรักษาทางบก ทางน้ำ และทางระบายน้ำ
                      ๓. การจัดให้มีและควบคุมตลาด ท่าเทียบเรือ ท่าข้าม และที่จอดรถ
                      ๔. การสาธารณูปโภคและการก่อสร้างอื่น ๆ
                      ๕. การสาธารณูปการ
                      ๖. การส่งเสริม การฝึกและประกอบอาชีพ
                      ๗. การพาณิชย์ และการส่งเสริมการลงทุน
                      ๘. การส่งเสริมการท่องเที่ยว
                      ๙. การจัดการศึกษา
                      ๑๐.การสังคมสงเคราะห์ และการพัฒนาคุณภาพชีวิต เด็ก สตรี คนชราและผู้ด้อย
                          โอกาส
                      ๑๑.การบำรุงรักษาศิลปะ จารตีประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่นและวัฒนธรรมอันดีของ
                          ท้องถิ่น
                      ๑๒.การปรับปรุงแหล่งชุมชนแออัดและการจัดการเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย
                      ๑๓.การจัดให้มีและบำรุงรักษาสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
                      ๑๔.การส่งเสริมกีฬา
                      ๑๕.การส่งเสริมประชาธิปไตย ความเสมอภาคและสิทธิเสรีภาพของประชาชน
                      ๑๖.ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของราษฎรในการพัฒนาท้องถิ่น
                      ๑๗.การรักษาความสะอาด และความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง
                      ๑๘.การกำจัดมูลฝอย สิ่งปฏิกูลและน้ำเสีย
                      ๑๙.การสาธารณสุข การอนามัยครอบครัว และการรักษาพยาบาล
                      ๒๐.การจัดให้มีและควบคุมสุสานและฌาปนสถาน
                      ๒๑.การควบคุมการเลี้ยงสัตว์
                      ๒๒.การจัดให้มีและควบคุมการฆ่าสัตว์
                      ๒๓.การรักษาความปลอดภัย ความเป็นระเบียบเรียบร้อย และการอนามัย โรงมหรสพ
                           และสาธารณสถานอื่น ๆ
                      ๒๔.การจัดการ การบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากป่าไม้ ที่ดิน
                           ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                      ๒๕.การผังเมือง
                      ๒๖.การขนส่งและการวิศวกรรมจราจร
                      ๒๗.การดูแลรักษาที่สาธารณะ
                      ๒๘.การควบคุมอาคาร
                      ๒๙.การป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
                      ๓๐.การรักษาความสงบเรียบร้อย การส่งเสริมและสนับสนุนการป้องกันและรักษาความ
                           ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
                      ๓๑.กิจการอื่นใดที่เป็นผลประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามที่คณะกรรมการ
                           ประกาศกำหนด 

             การปฏิบัติงานตามอำนาจหน้าที่ของเทศบาล ต้องเป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน โดยวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดทำแผนพัฒนาเทศบาล การจัดทำงบประมาณ การจัดซื้อจัดจ้าง การตรวจสอบ การประเมินผลการปฏิบัติงาน และการเปิดเผยข้อมูล ข่าวสาร ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับว่าด้วยการนั้น และหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กระทรวงมหาดไทยกำหนด ( พ.ร.บ.เทศบาล มาตรา ๕๐ วรรคท้าย)
             เทศบาลมีอำนาจในการตราเทศบัญญัติ เพื่อใช้บังคับในเขตเทศบาล โดยไม่ขัดหรือแย้งต่อ บทกฎหมาย เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตามหน้าที่ของเทศบาลที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.เทศบาล หรือเมื่อมีกฎหมาย บัญญัติให้เทศบาลตราเทศบัญญัติหรือให้มีอำนาจตราเทศบัญญัติ ในเทศบัญญัตินั้นจะกำหนดโทษปรับผู้ละเมิด เทศบัญญัติไว้ด้วยก็ได้ แต่ห้ามมิให้กำหนดเกินกว่าหนึ่งพันบาท (พ.ร.บ.เทศบาล มาตรา ๖๐)
            โครงสร้างการกำหนดส่วนราชการของเทศบาลตำบลหนองแฝก แบ่งเป็น ๔ กอง ดังนี้

            ๑. สำนักปลัดเทศบาล
                     ฝ่ายอำนวยการ
                     ๑.๑ งานบริหารทั่วไป
                     ๑.๒ งานประชาสัมพันธ์
                     ๑.๓ งานธุรการ
                     ๑.๔ งานการเจ้าหน้าที่
                     ๑.๕ งานวิเคราะห์นโยบายและแผน
                     ๑.๖ งานนิติการ
                     ๑.๗ งานกิจการสภา
                     ๑.๘ งานส่งเสริมการเกษตรและปศุสัตว์
                     ๑.๙ งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
                     ๑.๑๐ งานสวัสดิการสังคมและพัฒนาชุมชน
                     ๑.๑๑ งานสวัสดิการเด็กและเยาวชน
                     ๑.๑๒ งานรักษาความสงบ
                     ๑.๑๓ งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

            ๒. กองคลัง
                     ๒.๑ งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้
                     ๒.๒ งานการเงินและบัญชี
                     ๒.๓ งานธุรการ
                     ๒.๔ งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

            ๓. กองช่าง
                     ฝ่ายการโยธา
                     ๓.๑ งานก่อสร้างและประสานสาธารณูปโภค
                     ๓.๒ งานออกแบบควบคุมอาคารและผังเมือง 
                     ๓.๓ งานธุรการ

            ๔. กองการศึกษา
                     ฝ่ายบริหารการศึกษา
                     ๔.๑ งานส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรมและนันทนาการ
                     ๔.๒ งานประสานงานการศึกษา
                     ๔.๓ งานธุรการ

 

*******************************************************