nongfag@hotmail.com 053-968033 ต่อ 13 , 081-960-7098

President

นายอนุชา  แสงสว่าง

นายกเทศมนตรีตำบลหนองแฝก

สายด่วนนายก 061-2675999

หน้าแรก » ข้อมูลพื้นฐาน

ข้อมูลและสภาพทั่วไป

๑. ด้านกายภาพ

         ๑.๑ ที่ตั้งหรืออาณาเขต
                   ตำบลหนองแฝกมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๘.๘ ตำรำงกิโลเมตรหรือเนื้อที่ประมาณ ๕,๔๙๙ ไร่ เขตเทศบาลตำบลหนองแฝก มีดังนี้
                   หลักเขตที่ ๑ ตั้งอยู่ที่จุดตัดแนวรั้วโรงงานฟอกหนังกับถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช. สายน้ำโจ้) ซึ่งเป็นจุดแบ่งเขตระหว่างตำบลดอนแก้ว และตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ บริเวณพิกัด NA ๐๑๑๖๖๗

                   ด้านเหนือ  
                   จากหลักเขตที่ ๑ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนน ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลดอนแก้ว และ เทศบาลตำบลหนองผึ้ง กับตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวขอบถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) ถึงลำเหมืองคือ บริเวณสะพานดำ ไปทำงทิศเหนือ ตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองคือ บรรจบกับเหมืองหล่อ ไปตามเหมืองหล่อต่อกับเหมืองหัวนาเจ็ก คันนาแดน เหมือง หัวนาเจ็ก และแนวเขตโฉนดที่ดิน ใช้แนวเขตโฉนดเชื่อมจากเหมืองหัวนาเจ๊กถึงถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) ไปทำงทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวขอบถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) ด้าน เหนือ ถึงหลักเขตที่ ๒ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) บริเวณพิกัด NA ๐๓๑๖๘๑ รวม ระยะทางด้านเหนือประมาณ ๓ กิโลเมตร

                   ด้านตะวันออก
                   จากหลักเขตที่ ๒ เป็นเส้นเลียบตามแนวถนน ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลยางเนิ้ง กับ ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนวขอบถนน อบจ.ชม. ๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) ถึงลำเหมืองบ้านป่าคำ ไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางลำเหมือง ผ่านหมู่บ้านและ ถนนเชื่อมแนวรั้วบ้านนายสัมพันธ์ เจริญวรรณ ไปตำมลำเหมือง ถึงหลักเขตที่ ๓ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดบรรจบของลำเหมืองกับลำเหมืองร้องผักจิก บริเวณพิกัด NA ๐๔๒๖๖๕ 
                   จากหลักเขตที่ ๓ เป็นเส้นเลียบตามแนวลำน้ำ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลสารภี กับ ตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยไปทางทิศใต้ตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองร้องผักจิก ถึงหลัก เขตที่ ๔ ซึ่งตั้งอยู่ที่จุดตัดของลำเหมืองร้องผักจิกกับลำเหมืองชลประทำน บริเวณพิกัด NA ๐๓๓๖๔๒ รวม ระยะทางด้านตะวันออกประมาณ ๔.๗ กิโลเมตร ยกเว้นแนวเขตเทศบาลตำบลยางเนิ้ง

                   ด้านใต้
                   จากหลักเขตที่ ๔ เป็นเส้นเลียบตำมแนวลำน้ำ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลอุโมงค์ และ ตำบลหนองช้างคืน อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน กับตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยไป ทางทิศตะวันตก ตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองชลประทาน ผ่านประตูระบายน้ำ ถึงหลักเขตที่ ๕ ซึ่งตั้งอยู่ที่กึ่งกลาง คลองส่งน้ำแม่ปิงเก่า บริเวณพิกัด NA ๐๑๗๖๔๑ รวมระยะทางด้านตะวันตกประมาณ ๑.๕ กิโลเมตร 

                   ด้านตะวันตก
                   จากหลักเขตที่ ๕ เป็นเส้นเลียบตามแนวลำน้ำ ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตระหว่างตำบลท่ากว้าง และตำบลดอนแก้ว กับตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ โดยไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือตามแนวร่องน้ำลึกคลองส่งน้ำแม่ปิงเก่า ถึงแนวหลักเขตกิโลเมตรที่ ๓ ริมคลองชลประทานฝั่งซ้ำย ไปตามแนวเขตที่ดิน ถึงลำเหมืองเก้าศอก ไปทางทิศเหนือตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองเก้าศอกเชื่อมกับเหมืองเสียหนองใหม่ ไปตามแนวกึ่งกลางลำเหมืองเชื่อมแนวเขตสวนลำไย ผ่านสวนนายทองกับรั้วโรงงานฟอกหนัง บรรจบหลักเขตที่ ๑ ซึ่งตั้งอยู่ที่ถนน อบจ.ชม.๔๐๔๐ (ถนน รพช.สายน้ำโจ้) บริเวณพิกัด NA ๐๑๑๖๖๗ รวมระยะทำงด้านตะวันตกประมาณ ๓ กิโลเมตร

                  หมายเหตุ.- ข้อมูลจากคำบรรยายแนวเขตแนบท้ายประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง จัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลหนองแฝก อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ เป็นเทศบาลตำบลหนองแฝก ลงวันที่ ๒๗ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๒

         ๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
                 ภูมิประเทศเป็นพื้นที่นา ต่ำ และราบลุ่ม มีหนอง คลอง และบึงอยู่กระจัดกระจาย

         ๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
                 ฤดูหนาวเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนตุลาคมถึงสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิในเวลากลางวันเฉลี่ยอยู่ที่ ๒๑ องศาเซลเซียส และเวลากลางคืนยังคงมีอากาศเย็น ช่วงที่มีอากาศหนาวมากที่สุด ได้แก่ เดือนธันวาคมและมกราคม ฤดูร้อนเริ่มตั้งแต่ต้นเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนพฤษภาคม โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยตอนกลางวันประมาณ ๓๐ องศาเซลเซียส ช่วงที่มีอากาศร้อนมากที่สุดได้แก่ เดือนเมษายน ฤดูฝนเริ่มประมาณเดือนมิถุนายนจนถึงสิ้นเดือนตุลาคม ฝนตกมากที่สุดในเดือนกันยายน อุณหภูมิโดยเฉลี่ย ๒๕ องศาเซลเซียส

         ๑.๔ ลักษณะของดิน
                 ลักษณะของดินในพื้นที่ตำบลหนองแฝก แบ่งออกเป็น ๒ ลักษณะ คือ
                 ๑) ชุดดินหางดง ลักษณะโดยทั่วไป : เนื้อดินเป็นพวกดินเหนียว ดินบนมีสีเทาแก่ น้ำตาลปนเทา ดินล่างมีสีเทาอ่อนหรือสีเทา มีจุดประสีน้ำตาลแก่และน้ำตาลปนเหลือง ตลอดชั้นดินมักพบก้อนสารเคมี เหล็กและแมงกานีสปะปนอยู่ในพื้นที่ปลูกของไม้ผลแต่ละชนิดชั้นดินลึกดินกลุ่มดินนี้ เกิดจากพวกตะกอนลำน้ำ และเป็นดินลึก มีการระบายน้ำเลว พบในพื้นที่ ราบเรียบตามลานตะพักลำน้ำค่อนข้างใหม่ และลานตะพักลำน้ำระดับต่ำ น้ำแช่ขังลึกน้อยกว่า ๓๐ ซม. นาน ๓-๕ เดือน ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติค่อนข้างต่ำถึงปานกลาง pH ๕.๕-๖.๕ แต่ถ้าดินมีก้อนปูนปะปนในดินชั้นล่าง ดินชั้นนี้จะมีปฏิกิริยาเป็นด่างอ่อน pH ๗.๕-๘.๐ ได้แก่ ชุดดินหางดง และ พาน ปัจจุบันบริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ใช้ทำนา ในบริเวณที่มีแหล่งน้ำใช้ปลูกพืชไร่ พืชผัก และยาสูบในช่วงฤดูแล้ง ข้าวที่ปลูกโดยมากให้ผลผลิตค่อนข้างสูง
ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ในฤดูฝนน้ำแช่ขังนาน ๓ - ๕ เดือน ดินมีการระบายน้ำเลว
                 ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : เมื่อพิจารณาถึงสภาพพื้นที่ ลักษณะเนื้อดินและการระบายน้ำของดินชุดดินหางดง มีความเหมาะสมที่จะใช้ทำนามากกว่าปลูกพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งเกษตรกรก็ได้ใช้ประโยชน์ในการทำนาอยู่แล้วในช่วงฤดูฝน อย่างไรก็ตามชุดดินหางดง ยังสามารถปลูกพืชไร่และพืชผักต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดีในช่วงฤดูแล้งหรือหลังการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว และปฏิบัติกันมากในภาคเหนือของประเทศไทย
                 ๒) ชุดดินสันทราย ลักษณะโดยทั่วไป : หน่วยที่ดินเป็นกลุ่มชุดดินที่มีเนื้อดินเป็นพวกดินร่วนปนทราย ดินทรายปนดินร่วนสีพื้นเป็นสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีจุดประสีน้ำตาลปนเหลือง หรือสีเหลืองปนน้ำตาลอ่อน และอาจพบศิลาแลงอ่อนในดินชั้นล่าง มีสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบ เป็นดินลึก มีการระบายน้ำค่อนข้างเลว ดินมีความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติต่ำ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึงเป็นกรดแก่ ค่าความเป็นกรด เป็นด่างประมาณ ๔.๕-๕.๕ บริเวณดังกล่าวส่วนใหญ่ในฤดูฝนใช้ปลูกข้าว บางแห่งยังคงสภาพเป็นป่าอยู่ หรือใช้ปลูกไม้ยืนต้น แต่ถ้ามีปัญหาเรื่องการแช่ขังของน้ำในช่วงฤดูฝน ตัวอย่างชุดดินที่อยู่ในกลุ่มนี้ได้แก่ ชุดดินน้ำกระจาย ชุดดินสีทน ชุดดินสันทราย และชุดดินชัยภูมิ
                 ปัญหาสำคัญในการใช้ประโยชน์ที่ดิน : ของชุดดินสันทราย ได้แก่ ดินค่อนข้างเป็นทราย มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ
                 ความเหมาะสมสำหรับการปลูกพืช : โดยทั่วไปศักยภาพของชุดดินสันทรายเหมาะที่จะใช้ในการทำนาเนื่องจากสภาพพื้นที่ค่อนข้างราบเรียบมีน้ำขังแช่ในช่วงฤดูฝน แต่สามารถปลูกพืชไร่หรือพืชผักเช่น ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ข้ำวโพด ยาสูบ กระเทียม มะเขือเทศ ฯลฯ ก่อนและหลังการปลูกข้าวถ้ามีน้ำชลประทานหรือมีแหล่งน้ำธรรมชาติ ในเขตฝนตกชุก เช่น ภาคใต้ และภาคตะวันออก ใช้ปลูกยางพาราและไม้ผล

          ๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้้า
                 ๑) แหล่งน้ำธรรมชาติ
                      - ลำเหมือง ๑๗ สาย
                      - แหล่งน้ำสาธารณะ ๒ แห่ง
                 ๒) แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
                      - ประปา ๙ แห่ง
                 ๓) ปริมาณน้ำฝน

ดาวน์โหลดเพื่ออ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

download